ระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 คืออะไร
เรามาทำความรู้จักกันก่อน สำหรับมาตรฐาน ISO 9001 เป็นมาตรฐานที่เริ่มต้นสำหรับหน่วยงานควรจะต้องมีความรู้และความเข้าใจ การจัดรูปแบบองค์กรให้เหมาะสมตามหน้าที่และหน่วยงานต่าง ๆ การจัดหน้าที่และความรับผิดชอบของเราแต่ละคนว่าควรจะต้องดูแลในส่วนไหนกันบ้าง หรือถ้าพูดให้ง่ายให้เข้าใจคือการแบ่งกันรับผิดชอบที่ชัดเจนสำหรับแต่ละบุคคล อย่างเช่นเราอาจจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มแรกคือ ผู้ดูแลหรือหัวหน้างานในส่วนของการทำงาน และผู้ดูแลหรือหัวหน้างานในส่วนของอาคารและสถานที่ หลังจากนั้นก็เป็นการแยกย่อยไปตามตำแหน่งที่ได้รับความผิดชอบในส่วนต่าง ๆ ซึ่ง ระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 ตรงนี้จะช่วยจัดสรรงานให้แต่ละที่ สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้นและมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานของตัวเองได้ง่ายยิ่งขึ้น
สำหรับหน่วยงานทั่วไปแค่ถามว่ามีความจำเป็นจะต้องใช้เกี่ยวกับเรื่องราวของ ISO เข้ามาช่วยในหน่วยงานหรือไม่ จำเป็นอย่างแน่นอนสำหรับทุกหน่วยงานที่จะต้องมี ระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 เข้ามาช่วยบำรุงและพัฒนาหน่วยงานให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ถ้าเราไม่มีระบบระเบียบในการจัดการ ไม่มีการดูแลรูปแบบวิธีการการทำงานที่ชัดเจน ซึ่งนั่นก็หมายความว่าการทำงานของเราไม่ได้แตกต่างจากการทำงานระบบครอบครัว ใครอยากจะทำอะไรก็ทำ ใครไม่อยากจะทำอะไรก็ไม่ต้องทำ ลักษณะการทำงานอย่างนี้ถือว่าไม่พัฒนาองค์กรสักเท่าไหร่ แต่ถ้ามีการแยกย่อยอย่างชัดเจนมีการระบุหน้าที่การทำงานที่ถูกต้อง การพัฒนาการตรวจสอบหน่วยงานก็เป็นไปตามขั้นตอนทุกอย่าง ง่ายต่อการปรับองค์กรหรือพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ที่มา ISO 9001
ได้รับการพัฒนามาจาก ISO 9000 : 2008 มีการเพิ่มเติมข้อมูลให้มีความน่าเชื่อถือและมีการปรับปรุงมากยิ่งขึ้น หรือทำความเข้าใจอย่างง่ายคือมีการพัฒนาปรับปรุงองค์กรให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงาน เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรและบุคลากรโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของเอกชนจากองค์กรเล็ก ๆ สู่องค์กรใหญ่ หรือจะเป็นหน่วยงานในภาครัฐที่ต้องทำงานเป็นรูปแบบแผน จะต้องมีการกำหนดแบบแผนที่ชัดเจนและมีเป้าหมายที่ชัดเจนเพิ่มยิ่งขึ้น ระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 จะช่วยให้การทำงานนั้นง่ายและจากในระบบของการทำงานได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะก่อนหน้านั้นจะมีความชัดเจนในระดับหนึ่งแต่ยังไม่สมบูรณ์ จึงมีการพัฒนาขึ้นมาอีกระดับกลายเป็น ระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015
ซึ่งการพัฒนาของ ระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 จะเป็นการต่อยอดจากของเดิมมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเดิมเพียงเล็กน้อย ประโยชน์ที่จะได้รับในหน่วยงานคือความชัดเจนของการสั่งงานในการวางแผนได้มากยิ่งขึ้น อย่างเช่นการวางแผนในยุคก่อนอาจจะมีการวางแผนที่กว้างจนเกินไป ทำให้การทำงานนั้นอาจจะดูไม่ครอบคลุมและไม่รัดกุมกับการทำงาน ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบหมายอาจจะยังทำไม่ตรงตามความต้องการ ระบบที่ทำการปรับปรุงใหม่ทั้งนี้มีความชัดเจนในการสั่งงานและการทำงานมากยิ่งขึ้น มุ่งสู่เป้าหมายโดยตรงและทำการลดขั้นตอนในส่วนที่ไม่จำเป็นลงไปด้วย
แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือ การจัดวางระบบบริหารงาน เพื่อประกันคุณภาพซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ได้รับการควบคุม และสามารถตรวจสอบได้โดยผ่านเอกสารที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่่อให้มั่นใจได้ว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานมีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในเอกสารหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาด รวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม
หลักการของการบริหารงานคุณภาพ มี 8 ประการ
- การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Focus)
- ความเป็นผู้นำ (Leadership)
- การมีส่วนร่วมของบุคลากร (Involvement of People)
- การบริการเชิงกระบวนการ (Process Approach)
- การบริหารที่เป็นระบบ (System Approach)
- การรปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
- การตัดสินใจบนพื้นฐานความเป็นจริง (Factual Approach to Decision Making)
- ความสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน (Mutually Beneficial Supplier Relationship)
ประโยชน์ของ ISO 9001 มีอะไรบ้าง
- ทำให้คุณกลายเป็นคู่แข่งที่แข็งแกร่งในตลาด
- ทราบวิธีที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้คุณประหยัดเวลา เงิน และทรัพยากรอื่น ๆ
- กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการ และทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ขยายโอกาสทางธุรกิจด้วยการแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตาม
- การจัดการที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น จะช่วยให้คุณตอบสนองความต้องการของลูกค้า
- ผลการดำเนินงานที่ดีจะลดความผิดพลาดและเพิ่มผลกำไร
- เอาชนะใจลูกค้าด้วยการบริการที่เหนือระดับ
ISO 9001 จึงเป็นระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากล แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือการจัดวางระบบบริหารงานเพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน มีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระบบหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม
ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO 9001:2015 มีการเพิ่มข้อกำหนดในเรื่องการทำความเข้าใจกับองค์กรและบริบทองค์กร การทำความเข้าใจกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาสรวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป